ReadyPlanet.com
dot
สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ
dot
bulletสมรรถภาพเพศชาย
bulletถาม - ตอบเรื่องยา
bulletปรึกษาแพทย์เรื่องสุขภาพ
bulletชายชาตรี
bulletขลิบปลาย
bulletไซนัสอักเสบ
bulletความดันโลหิตสูง
bulletภูมิแพ้
bulletโรค หู คอ จมูก
bulletไมเกรน
bulletนอนไม่หลับ . . . ทำอย่างไรดี
bulletทำไมถึงปวดหัว
bulletสิทธิของผู้ป่วย
bulletท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพ
bulletของแถมจากคนอยากใหญ่
bulletไข่วันละฟองทานได้หรือไม่ ??
bullet20 คำถามที่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของคุณ
bulletเรื่องน่ารู้ของผู้ชาย
bulletเนื้องอกกับมะเร็ง
bulletปัญหาของลูกผู้ชาย
bulletเซ็กส์ที่ปลอดภัย
bullet10 คำถามของลูกผู้ชาย
bulletดื่มนมอย่างไร ไม่ให้แน่นท้อง
bulletการทำหมันชาย
bullet8 ขั้น การเตรียมการเลิกบุหรี่
bulletการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
bulletกระเพาะอักเสบ
bulletมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย
bullet10 วิธี ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
bulletเตือน! คนเอวเท่ากะละมังระวังเป็นโรคหัวใจ
bulletทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ???
bulletกรวยไตอักเสบ หนึ่งในโรคที่ต้องพึงระวัง
bulletนอนไม่หลับ โรคยอดฮิตของคุณหรือเปล่า
bulletท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า
bulletไม่เครียด-ออกกำลังกายพอเหมาะ ช่วยอสุจิให้แข็งแรง
bulletเบาหวานและการดูแลตัวเอง
bulletการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
bulletต่อมลูกหมากคืออะไร
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletอาหารต้องห้ามยามเป็นโรค
bulletสุขภาพคุณดีแค่ไหนและควรไปพบแพทย์เมื่อใด
bullet11 วิธีพิชิต "โรคภูมิแพ้"
dot
เวปไซต์สุขภาพอื่น ๆ
dot
bulletเพศศึกษา
bulletไทยคลีนิค
bulletสุขภาพ
dot
โทรทัศน์
dot
bulletช่อง 3
bulletช่อง5
bulletช่อง 7
bulletช่อง 9
bulletช่อง 11
dot
หนังสือพิมพ์
dot
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletpost today


คลินิกหมอสุรเชษฐ


การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ article

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ และเราควรทำโดยสม่ำเสมอ ไม่ว่า จะมีอายุเท่าใด การศึกษาวิจัยในระยะหลัง บ่งชี้ว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งในชีวิตที่ต้องทำ เพราะจะทำให้เกิดผลดีมากมาย เช่น ทำให้สุขภาพแข็งแรง สมรรถภาพของหัวใจและปอดดีขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้นถึงที่สุด คือ ทำให้อายุยืนยาว โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ตรงนี้ผมว่า พวกเราต้องการทั้งนั้น คงไม่มีใครอยากอายุยืนในลักษณะที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องให้ลูกหลานคอยดูแล หรือไปหาหมอทุก 3 วัน 7 วัน เราคงอยากช่วยตัวเองได้ ไปเที่ยวได้ รู้สึกสนุกสนานกับชีวิต เรามาเริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าครับ

สำหรับท่านที่ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็ขอให้ทำต่อไปครับ แต่ถ้าไม่เคยออกกำลังกายเลย และอายุเกิน 35 ปีแล้ว ควรพบหมอเสียหน่อย เพื่อตรวจดูสุขภาพทั่วไป ปอด หัวใจ ว่าไม่มีโรคที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกาย หรือท่านที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่า โรคของท่านควรจะออกกำลังกายโดยวิธีไหน ที่ไม่มีผลเสียต่อตัวท่านเอง

ผมมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายว่า เราควรจะทำแค่ไหน จึงจะไม่เกินกำลังตัวเอง ขั้นแรกเลย เราควรจะจับชีพจรของตนเอง ในขณะออกกำลังกาย โดยคลำบริเวณข้อมือทางด้านหัวแม่มือ จับชีพจรเป็นเวลา 30 วินาที นับจำนวนครั้งที่ชีพจรเต้นแล้วคูณ 2 เป็นชีพจรเต้นต่อนาที หลักการของการออกกำลังกายที่ดี คือ ควรทำให้หัวใจเต้นเร็วใกล้เคียงกับชีพจรเต้นสูงสุด โดยชีพจรเต้นสูงสุดที่เหมาะสม สำหรับแต่ละช่วงอายุจะไม่เท่ากัน และมีสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้

ชีพจรเต้นสูงสุดสำหรับแต่ละช่วงอายุ = (220-อายุ)*75/100

เช่น ท่านที่อายุ 40 ปี ถอดสูตรคำนวณได้ว่า = (220-40)*75/100 = 135 ครั้งต่อนาที การออกกำลังกายที่ดีสำหรับคนอายุ 40 ปี คือ ควรออกกำลังกายทำให้ได้สม่ำเสมอ โดยให้หัวใจเต้นเร็ว ใกล้เคียง135 ครั้ง/นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละครึ่งชั่วโมง จะทำให้สุขภาพดี ปอด และหัวใจแข็งแรง

หลังจากเราได้ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอไประยะหนึ่ง เมื่อจับชีพจรของเราในขณะพักอยู่เฉยๆ จะพบว่า หัวใจเต้นช้าลง โดยบางท่านอาจจะเต้นช้ากว่าปกติ คือ 60 ครั้ง/นาที อีกด้วยซ้ำไป หัวใจเต้นช้าดีกว่าครับ แสดงว่า การเต้นแต่ละครั้ง หัวใจสามารถบีบตัวเอาเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้มาก หัวใจเต้นเร็ว แสดงว่า ร่างกายไม่แข็งแรงครับ

ท่านที่เริ่มต้นออกกำลังกายควรค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหมในระยะแรก จะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ และข้อต่อได้ หลังจากทำติดต่อไป 2-4 สัปดาห์ จึงค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้น ร่างกายจะปรับตัวได้ดีขึ้น ไม่เหนื่อยมากเกินไป นอนหลับได้ดี

การออกกำลังกายที่มีการวิจัยว่า 'ดี' มีประโยชน์ต่อหัวใจและปอดมาก คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) (ไม่ใช่เต้นแอโรบิกนะครับ) ซึ่งมี 3 ชนิด ดังนี้

วิ่ง Jogging การวิ่งเหยาะๆ ช้าๆ ไปเรื่อยๆ หรือเดินเร็วๆ ก็ได้ ปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะขี่จักรยานจริงๆ หรือปั่นจักรยานออกกำลังกายอยู่กับที่
ว่ายน้ำ มีตัวเลขเปรียบเทียบการใช้พลังงานในการออกกำลังกายทั้งหลายกับนอนเฉยๆ

ประเภทการออกกำลังกาย

พลังงานที่ใช้

1.      นอนเฉยๆ

2.      เดิน

3.      ขี่จักรยาน

4.      ว่ายน้ำ

5.      วิ่ง

1.3 แคลอรี/นาที
5.2 แคลอรี/นาที
8.2 แคลอรี/นาที
11.2 แคลอรี/นาที
19.4 แคลอรี/นาที

เห็นตัวเลขพวกนี้แล้ว พวกเราคงคิดอยากลุกขึ้นมาออกกำลังกาย ไม่ว่าโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินกัน

พิเศษสำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินกว่าปกติ เมื่อคุณออกกำลังกาย โดยควบคุมการรับประทานอาหารร่วมด้วย คุณจะสามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างช้าๆ ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และแข็งแรงขึ้น เช่น คุณเพิ่มการใช้พลังงานขึ้นเพียงวันละ 300 แคลอรี โดยการออกกำลังกาย คุณจะค่อยๆ ลดน้ำหนักได้ถึง 4.5 กิโลกรัม ในเวลา 3-4 เดือน ซึ่งปลอดภัยมาก ไม่ควรลดน้ำหนักเร็วกว่าสัปดาห์ละ 0.5- กิโลกรัม อาจมีความผิดปกติอย่างรุนแรง ถึงแก่ชีวิตได้

นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดบางประการในเรื่องการออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้รักสวยรักงาม ซึ่งผมอยากชี้แจง ดังนี้

# การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ คลอรีนหรือสารฆ่าเชื้อโรคอาจทำให้ผิวเสีย ผมเสีย ตลอดจนแสงแดดเป็นอันตรายต่อผิวหนัง

ความจริง เราว่ายน้ำเพื่อออกกำลังกายเป็นผลดีต่อร่างกาย ผิวพรรณจะดีขึ้น ถ้าเป็นห่วงเรื่องแสงแดด ให้ใช้โลชั่นทากันแดดที่มี SPF สูงๆ เช่น 15-20 ขึ้นไป หรือไม่เดี๋ยวนี้มีสระว่ายน้ำจำนวนมาก ที่อยู่ในร่ม และปรับอุณหภูมิให้คุณว่ายน้ำได้อย่างสบายตลอดปี คนสูงอายุก็ว่ายได้ครับ น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักตัว และความบาดเจ็บต่อข้อต่อกล้ามเนื้อที่อาจเกิดจากการเล่นกีฬาประเภทอื่นจะน้อยลง

# การวิ่งบ่อยๆ ทำให้กล้ามเนื้อขา และน่องใหญ่ไม่สวย (น่องสามล้อ ว่างั้นเถอะ)

ความจริง ใครเคยเห็นนักวิ่งมาราธอนอ้วน หรือขาใหญ่ หรือน่องใหญ่ไหมครับ ไม่มีหรอกครับ มีแต่ตัวผอมบาง ขาเพรียว สวยแบบมีกล้ามเนื้อนิดหน่อย เพราะการวิ่งนานๆ กล้ามเนื้อจะสลายไขมันออกหมด เหลือแต่ตัวกล้ามเนื้อ ได้รูปร่างสวย ส่วนนักวิ่งระยะสั้นจะกลับกัน การวิ่งระยะสั้นต้องรีดพลังงานออกมามากที่สุด เร็วที่สุดต้องไม่มีไขมัน และกล้ามใหญ่ เพราะเซลล์กล้ามเนื้อขยายตัว เพื่อให้มีประสิทธิภาพทำงานมากที่สุด ในเวลาน้อยที่สุด พวกนี้เซลล์กล้ามเนื้อใหญ่นะครับ แต่เซลล์ไขมันเล็กนิดเดียว เพราะไม่ได้ใช้ไขมัน และพลังงานต้องไม่เหลือเกินไปเก็บเป็นไขมัน

# เครื่องดื่มเกลือแร่ทำให้สดชื่นเร็วขึ้น และดีกว่าน้ำเปล่า

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Column2

Article Name: Column2 - Article2 article