อาหารนำไมเกรน
ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่สร้างความรำคาญ ทรมานให้กับผู้ป่วย โดยจะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุ๊บ ๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตาเหมือนหัวใจเต้นตุ๊บ ๆ ที่ปวดน้อย ๆ มักจะไม่ใช่ไมเกรน
อาการปวดไมเกรนอาจจะปวดได้นาน 2-3 วันหรืออาจจะปวด 2-4 ชั่วโมง และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรน เวลาหายปวดจะหายสนิท
อาการปวดไมเกรน มักจะมี อาการนำ มาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ ก่อนจะมีอาการปวด ไม่แน่เสมอไปที่ว่าอาการปวดหัวข้างเดียวคืออาการปวด ไมเกรน อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คอตกหมอน เนื้องอก เป็นต้น
ส่วน อาหารนำไมเกรน ได้แก่ อาหารที่มีสารประกอบอะมิโนกลุ่มที่ลงท้ายชื่อด้วย อามีน (amine) ซึ่งมีปฏิกิริยาให้หลอดเลือดขยายและหดตัว เนยแข็งโดยเฉพาะบลูชีส ช็อกโกแลต มีฟินีลเลทธีลามิน (Phenylethylamine) เป็นตัวนำไมเกรน ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ซึ่งมีเซเนพรีน (Synephrine) และออกโตพามีน (Octopamine) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีฮิสตามีน (Histamine) นอกจากนี้ ผงชูรส ก็เป็นตัวนำไมเกรนของหลายคน อาหารรมควันและหมักดอง เช่น ฮอตดอก เบคอน แฮม ไส้กรอก เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ฯลฯ ซึ่งเป็นอาการแพ้เฉพาะปัจเจกชน
อาหารปลอดไมเกรน ได้แก่ ข้าวกล้อง ผลไม้ตากแห้งเช่นลูกพรุน ลูกเกด เชอร์รี่ ฯลฯ ผักปรุงสุก เช่น คะน้า บร็อคโคลี ปวยเล้ง ผักโขม ถั่ว เผือก มันเทศ มันสำปะหลัง และฟัก เป็นต้น อาหารช่วยให้อาการไมเกรนดีขึ้น แมกนีเซียม หลายงานวิจัยที่พบว่าคนที่เป็นไมเกรนมีระดับธาตุแมกนีเซียมในร่างกายต่ำกว่าปกติ
พืชตระกูลกัวราน่า จะไปขยายหลอดเลือดและหลอดลม ช่วยให้มีการจับออกซิเจนให้กระแสเลือดให้ดีขึ้นระบบการทางเดินหายใจทำงานดีขึ้น ทำให้มีออกิเจนไปเลี้ยงสมองมากขึ้นด้วย และไมเกรนก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายไปในที่สุด
ควรหมั่นสังเกตให้ดีว่าตัวเองแพ้อาหารชนิดใด แล้วหลีกเลี่ยงอาหารนั้นเสีย และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยนำที่ทำให้เกิดไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติ เช่นนี้จะช่วยให้อาการปวดไมเกรนถอยห่างออกไป