ReadyPlanet.com
dot
สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ
dot
bulletสมรรถภาพเพศชาย
bulletถาม - ตอบเรื่องยา
bulletปรึกษาแพทย์เรื่องสุขภาพ
bulletชายชาตรี
bulletขลิบปลาย
bulletไซนัสอักเสบ
bulletความดันโลหิตสูง
bulletภูมิแพ้
bulletโรค หู คอ จมูก
bulletไมเกรน
bulletนอนไม่หลับ . . . ทำอย่างไรดี
bulletทำไมถึงปวดหัว
bulletสิทธิของผู้ป่วย
bulletท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพ
bulletของแถมจากคนอยากใหญ่
bulletไข่วันละฟองทานได้หรือไม่ ??
bullet20 คำถามที่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของคุณ
bulletเรื่องน่ารู้ของผู้ชาย
bulletเนื้องอกกับมะเร็ง
bulletปัญหาของลูกผู้ชาย
bulletเซ็กส์ที่ปลอดภัย
bullet10 คำถามของลูกผู้ชาย
bulletดื่มนมอย่างไร ไม่ให้แน่นท้อง
bulletการทำหมันชาย
bullet8 ขั้น การเตรียมการเลิกบุหรี่
bulletการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
bulletกระเพาะอักเสบ
bulletมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย
bullet10 วิธี ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
bulletเตือน! คนเอวเท่ากะละมังระวังเป็นโรคหัวใจ
bulletทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ???
bulletกรวยไตอักเสบ หนึ่งในโรคที่ต้องพึงระวัง
bulletนอนไม่หลับ โรคยอดฮิตของคุณหรือเปล่า
bulletท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า
bulletไม่เครียด-ออกกำลังกายพอเหมาะ ช่วยอสุจิให้แข็งแรง
bulletเบาหวานและการดูแลตัวเอง
bulletการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
bulletต่อมลูกหมากคืออะไร
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletอาหารต้องห้ามยามเป็นโรค
bulletสุขภาพคุณดีแค่ไหนและควรไปพบแพทย์เมื่อใด
bullet11 วิธีพิชิต "โรคภูมิแพ้"
dot
เวปไซต์สุขภาพอื่น ๆ
dot
bulletเพศศึกษา
bulletไทยคลีนิค
bulletสุขภาพ
dot
โทรทัศน์
dot
bulletช่อง 3
bulletช่อง5
bulletช่อง 7
bulletช่อง 9
bulletช่อง 11
dot
หนังสือพิมพ์
dot
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletpost today


คลินิกหมอสุรเชษฐ


มะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย

            ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์เพื่อการเฝ้าระวัง การตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัย การรักษาและการติดตามการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้พัฒนาและเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อายุขัยของประชากรยืนยาวขึ้น

 

ขณะเดียวกันอุบัติการณ์ของโรคภัยต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มตาม ในลักษณะที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะคนในช่วงวัย 60-79 ปี ซึ่งเป็นเพศชาย มีแนวโน้มของการตรวจพบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในสัดส่วนที่สูง ซึ่งสถิติการรับผู้ป่วยชายสูงอายุที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากรายใหม่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช มีประมาณ 500 รายต่อปี ถือเป็นโรคมะเร็งที่พบมากอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปอด

 

แต่หากคนทั่วไปทราบถึงสาเหตุ และหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงการเกิดโรค ขณะที่ผู้ป่วยสามารถรับรู้ว่ามีอาการของโรคนี้ตั้งแต่ยังอยู่ในระยะแรกๆ โอกาสรักษาให้หายขาดก็เป็นไปได้มาก จึงควรรู้เท่าทันของโรคดังกล่าว

 

ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชายต่อลงมาจากกระเพาะปัสสาวะ และล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ เป็นส่วนหนึ่งของน้ำกามที่หลั่งออกมาตามปกติ แต่หากสภาพเซลล์ภายในของต่อมลูกหมากมีการแบ่งตัวมากขึ้นอย่างผิดปกติ เป็นสัญญาณว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากกำลังก่อตัวขึ้นโดยที่เราไม่อาจรับรู้ได้

 

แม้จะยังไม่มีใครทราบว่าสาเหตุแท้จริงของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอายุ และภาวะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือดเมื่ออายุมากขึ้น โดยฮอร์โมนเพศชายมักจะมีระดับลดลงในชายสูงอายุ อีกทั้งการศึกษาพบว่า อาหารที่มีไขมันสูงอาจมีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย

 

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เราสามารถระวังติดตามคอยตรวจอย่างสม่ำเสมอได้

 

ผศ.น.พ.สิทธิพร ศรีนวลนัด ภาควิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เผยว่า วิธีการตรวจต่อมลูกหมาก ประกอบด้วยการตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์ใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนักเพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่น ความแข็งของต่อมลูกหมาก 

 

อีกวิธีการที่มักใช้ร่วมกันคือ การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด นำมาวัดค่า ที่เรียกว่า PSA (Prostate-specific antigen) ถ้าระดับ PSA ในเลือดมีค่ายิ่งสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ยังมีการตรวจอัลตราซาวนด์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก โดยการใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนัก และการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ที่แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยรูปแบบการตรวจ

 

สำหรับผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แม้จะไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ก็ควรไปรับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง ทั้งนี้ อุบัติการณ์ของโรคจะพบมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะพบในชายไทยมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

 

อาการของโรคแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

เริ่มแรก มะเร็งมีขนาดเล็กอยู่ในต่อมลูกหมาก มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ การตรวจทางทวารหนักมักไม่ค่อยพบ

 

ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นแต่ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก มีการกดเบียดท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก

 

ระยะที่ 3 มะเร็งขยายตัว จนอุดกั้นท่อปัสสาวะและกระจายออกนอกต่อม อาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น ต้องเบ่ง ปัสสาวะไม่ออก อาจมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ คลำพบโดยตรวจทางทวารหนัก

 

ระยะที่ 4 โดยในช่วง 2-3 ปีหลังจากผ่านระยะต่างๆเข้าสู่ที่เรียกว่า "โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ากระดูก" มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง กระทั่งเข้าสู่กระดูกและอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อสะโพก กระดูกซี่โครง หัวไหล่ ขั้นนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด แขน ขา บวม และบางรายอาจจะเดินไม่ได้ เป็นอัมพาตเนื่องจากมีกระดูกสันหลังหักไปกดทับไขสันหลัง ได้รับความเจ็บปวดทรมานมาก

 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรก ที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในหลายวิธีการ

 

การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก โดยผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หรือใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งมีข้อดีคือ เจ็บแผลน้อย เนื่องจากเป็นแผลเจาะรู เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว การตัดเลาะต่อมลูกหมากทำได้โดยละเอียดแม่นยำ เนื่องจากภาพที่ขยายจากการส่องกล้อง เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท แต่ข้อเสียของการผ่าตัดคือ หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการการควบคุมปัสสาวะสูญเสียไปชั่วคราวหรือภาวะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

 

การฉายรังสี เข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง หรือใช้การฝังแร่เข้าไปที่บริเวณต่อมลูกหมาก วิธีนี้มีโอกาสสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศน้อยกว่าการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก แต่อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระบ่อย มีการระคายเคืองที่ทวารหนักและปัสสาวะลำบาก

 

ส่วนระยะแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้วโดยที่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป การรักษาระยะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษามากกว่า 1 อย่าง เช่น การผ่าตัด การฉายแสง หรือการให้ยา ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

 

ขณะที่การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง กระดูก อวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การรักษาที่นิยมคือการตัดลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง บางรายอาจให้ยาต้านแอนโดรเจนทุก 1-3 เดือนร่วมด้วย ซึ่งยาเหล่านี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ รวมถึงการให้ยาช่วยลดการทำลายของกระดูก ลดภาวะการเกิดกระดูกหัก การทำเคมีบำบัดหรือเคโมร่วม

 

อย่างไรก็ตาม การรักษาในขั้นนี้ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ากระดูก เป็นเพียงแต่บรรเทาอาการปวดกระดูก และประทังชีวิตผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ บางรายมีชีวิตอยู่ถึง 5 ปี ก่อนเสียชีวิต ขึ้นกับโรคและสุขภาพผู้ป่วย

 

"หากอาการมะเร็งต่อมลูกหมากลามไปกระดูกถึงร้อยละ 80-90 แล้ว ในระยะที่เรียกว่า 3-4 ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก" ผศ.น.พ.สิทธิพร กล่าว

 

การดูแลป้องกันตัวจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ยังไม่มีวิธีการใดที่พิสูจน์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในการหลีกหนีจากโรคภัยดังกล่าว แต่ในหลักการคือพยายามใช้ชีวิตโดยไม่เครียด เชื่อว่าความเครียดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะจากเนื้อสัตว์ต้องระวังเป็นพิเศษ และในครอบครัวที่พบว่าญาติพี่น้องมีอาการของโรค ในระยะยาวควรมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลน่าสนใจจากผู้ทำการศึกษาถึงสาเหตุที่มาของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในต่างประเทศ ที่ตั้งข้อสงสัยว่า การเกิดโรคนี้อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในระยะยาว ซึ่งพบว่าโรคนี้ไม่เกิดกับชายอายุน้อย แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์เรื่องนี้ออกมา เป็นเพียงการตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีความสัมพันธ์หรือไม่ก็ได้

           
             สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยตรวจโรคศัลยศาสตร์ โรงพยาบาล รวมแพทย์ทุ่งสง โทร. 075-411330 และ 075-420210



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด