ReadyPlanet.com
dot
สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ
dot
bulletสมรรถภาพเพศชาย
bulletถาม - ตอบเรื่องยา
bulletปรึกษาแพทย์เรื่องสุขภาพ
bulletชายชาตรี
bulletขลิบปลาย
bulletไซนัสอักเสบ
bulletความดันโลหิตสูง
bulletภูมิแพ้
bulletโรค หู คอ จมูก
bulletไมเกรน
bulletนอนไม่หลับ . . . ทำอย่างไรดี
bulletทำไมถึงปวดหัว
bulletสิทธิของผู้ป่วย
bulletท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพ
bulletของแถมจากคนอยากใหญ่
bulletไข่วันละฟองทานได้หรือไม่ ??
bullet20 คำถามที่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของคุณ
bulletเรื่องน่ารู้ของผู้ชาย
bulletเนื้องอกกับมะเร็ง
bulletปัญหาของลูกผู้ชาย
bulletเซ็กส์ที่ปลอดภัย
bullet10 คำถามของลูกผู้ชาย
bulletดื่มนมอย่างไร ไม่ให้แน่นท้อง
bulletการทำหมันชาย
bullet8 ขั้น การเตรียมการเลิกบุหรี่
bulletการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
bulletกระเพาะอักเสบ
bulletมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย
bullet10 วิธี ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
bulletเตือน! คนเอวเท่ากะละมังระวังเป็นโรคหัวใจ
bulletทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ???
bulletกรวยไตอักเสบ หนึ่งในโรคที่ต้องพึงระวัง
bulletนอนไม่หลับ โรคยอดฮิตของคุณหรือเปล่า
bulletท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า
bulletไม่เครียด-ออกกำลังกายพอเหมาะ ช่วยอสุจิให้แข็งแรง
bulletเบาหวานและการดูแลตัวเอง
bulletการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
bulletต่อมลูกหมากคืออะไร
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletอาหารต้องห้ามยามเป็นโรค
bulletสุขภาพคุณดีแค่ไหนและควรไปพบแพทย์เมื่อใด
bullet11 วิธีพิชิต "โรคภูมิแพ้"
dot
เวปไซต์สุขภาพอื่น ๆ
dot
bulletเพศศึกษา
bulletไทยคลีนิค
bulletสุขภาพ
dot
โทรทัศน์
dot
bulletช่อง 3
bulletช่อง5
bulletช่อง 7
bulletช่อง 9
bulletช่อง 11
dot
หนังสือพิมพ์
dot
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletpost today


คลินิกหมอสุรเชษฐ


ท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า

ท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า


 

 

 คู่มือสุขภาพ,สุขภาพ,คู่มือ,ท่านอน,นอน,พักผ่อน,นอนหลับ,หลับ,นอนหงาย,นอนคว่ำ,นอนตะแคง,หมอน,ที่นอน,เบาะ

 

การนอนเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเวลาที่เรารู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า....

 

 

ซึ่งนพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวเอาไว้ว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ และมนุษย์ใช้เวลาเพื่อการนอนถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่มีในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นท่าที่ใช้นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น แจ่มใส พร้อมที่จะทำกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ท่านอน ถือเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกสันหลังรับแรงน้อยที่สุด บางคนเมื่อศีรษะถึงหมอนก็หลับสบายจนถึงเช้า อาจไม่สนใจว่าตนเองจะนอนท่าไหน รู้ตัวอีกทีตื่นมาตอนเช้าพบว่าเกิดอาการปวดหลัง หรือหันหน้าซ้ายขวาไม่ได้เลย จนต้องรีบไปหาหมอ

 

ท่านอนของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางคนชอบนอนหงาย บางคนก็ชอบนอนตะแคง หรือบางท่านอาจชอบนอนคว่ำ แล้วท่าไหนละ! ที่นอนแล้วสบายที่สุด

 

นอนหงาน,ท่านอนหงาย,คูมือสุขภาพ

 

            ท่านอนหงาย คนทั่วไปนิยมนอนท่านี้ เพราะเป็นท่านอน มาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมควรใช้หมอนต่ำ และต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอด และโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกะบังลมจะกดทับปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการปวดหลัง การนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย

 

            ท่านอนหงาย โดยมีหมอนหนุนใต้ข้อเข่า ให้ข้อสะโพกงอเล็กน้อย ท่านี้ถือว่าเป็นท่านอนที่เหมาะ หรือเป็นท่าที่ลดแรงกดของหลังได้ดี ส่วนที่ศีรษะควรมีหมอนเตี้ยๆ นุ่มๆ หนุนให้รู้สึกสบาย

 

              นอนตะแคงขวา,ท่านอนตะแคงขวา,คูมือสุขภาพ

 

ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับท่าอื่น เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก อาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

     นอนตะแคงซ้าย,ท่านอนตะแคงซ้าย,คูมือสุขภาพ

 

ท่านอนตะแคงซ้าย เป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้าย จากการนอนทับเป็นเวลานาน แต่ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร

 

ท่านอนตะแคง หากได้งอเข่าข้างหนึ่ง และมีหมอนข้างกอดไว้ หรือจะงอเข่าทั้งสองข้างในท่าคู้ตัวก็ได้ สำหรับหมอนที่ใช้หนุนในท่านี้ควรมีความหนามากพอที่จะให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว หากใช้หมอนเตี้ยเกินไป ศีรษะจะเอียงลงหรือหาหมอนที่มีความสูงเท่าหรือใกล้เคียงกับระยะจากระดับด้านข้างของศีรษะไปถึงแนวระดับไหล่ เมื่อหนุนแล้ว จึงทำให้แนวของกระดูกสันหลังส่วนคออยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนอกและส่วนเอว

 

นอนคว่ำ,ท่านอนคว่ำ,คูมือสุขภาพ

 

ท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ทำให้หายใจติดขัด ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลัง หรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ

 

โดยท่านอนคว่ำนี้ถือว่าเป็นท่านอนที่ไม่ดี เพราะการนอนคว่ำนั้นจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวโค้งไปทางด้านหน้ามากขึ้น นอกจากนี้ เวลาเรานอนคว่ำก็ต้องตะแคงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กระดูกต้นคอบิดไปด้วย

 

นอกจากเรื่องของท่านอนที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ อย่างหมอนหรือที่นอนก็มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพหลังของคนเราด้วยเช่นกัน

 

หมอนหนุนคอ,หมอนหนุน,หมอนที่ใช้หนุนคอ,คู่มือสุขภาพ 

 

หมอนที่ใช้หนุนคอ ถือว่ามีส่วนช่วยรองรับกระดูกสันหลังส่วนคอให้อยู่ในแนวโค้งที่ปกติ เพราะในขณะที่หลับ กล้ามเนื้อรอบๆ คอจะคลายตัว หากคออยู่ในท่าที่ไม่ดี ตื่นมาอาจปวดคอหรือคอแข็งได้ ดังนั้น หมอนที่ใช้ควรมีความนุ่มและขนาดพอดี โดยทั่วไปหมอนมาตรฐานควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนคอสั้นหรือคอยาว เพราะถ้าคุณเป็นคนคอยาวมากไป การใช้หมอนมาตรฐานก็จะทำให้ศีรษะอยู่ในท่าที่แหงนมากเกินไป

 

มีผู้ป่วยไม่น้อยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดต้นคอ หรือคอแข็งโดยไม่คิดว่าสาเหตุเกิดจากหมอนที่ตนเองใช้อยู่ แต่การที่จะบอกว่าหมอนแบบไหน หรือใบใดที่จะเหมาะกับใครนั้น เห็นทีจะยากสักหน่อย แต่ก็มีหลักง่ายๆ คือ เมื่อคุณหนุนหมอนใบนั้นแล้วรู้สึกสบายคอ หรือตื่นมาแล้วไม่มีอาการปวดเมื่อยต้นคอให้เป็นที่รำคาญใจ ก็ถือว่าเพียงพอ และไม่จำเป็นว่าต้องมีราคาแพงเสมอไปนะครับ หมอนราคาถูกๆ แต่เป็นขนาดที่เหมาะกับคุณ ก็จะสามารถรองรับศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอให้กับคุณได้ดีทีเดียว

 

ที่นอน สำหรับที่นอนที่ยัดด้วยนุ่น ที่คนไทยเราใช้กันอยู่นั้น เป็นที่นอนที่เหมาะอยู่แล้ว เพราะไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป แต่สำหรับที่นอนฟองน้ำที่ใช้กับเตียงสปริง ถือว่าเป็นที่นอนที่ไม่เหมาะกับสุขภาพหลัง หรือสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง เพราะมีความนุ่มหรืออ่อนตัวมากเกินไป ทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ผิดปกติ

 

บางคนเข้าใจผิดว่า การนอนที่นอนแข็งๆ เช่น บนไม้กระดาน, เสื่อ, หรือนอนกับพื้น จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ จริงๆ แล้วไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก เพราะที่นอนที่ถูกควรมีลักษณะที่เรียกว่าแน่น หรือเป็นที่นอนที่ยัดนุ่น ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

 

เหล่านี้เป็นเพียงองค์ประกอบในการนอน ที่จะช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดหลังแต่ถ้าหากสาเหตุการปวดหลังของคุณเกิดจากอุบัติเหตุหรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือแม้กระทั่งจากความเครียด คุณก็คงต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไปนะค่ะ

 

 

 

 

 

zz

 

 

 

 

 

 

ที่มา :

ข้อมูลจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

ภาพประกอบ :  www.thaihealth.or.th

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                             Update 22-06-50




ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด