ReadyPlanet.com
dot
สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ
dot
bulletสมรรถภาพเพศชาย
bulletถาม - ตอบเรื่องยา
bulletปรึกษาแพทย์เรื่องสุขภาพ
bulletชายชาตรี
bulletขลิบปลาย
bulletไซนัสอักเสบ
bulletความดันโลหิตสูง
bulletภูมิแพ้
bulletโรค หู คอ จมูก
bulletไมเกรน
bulletนอนไม่หลับ . . . ทำอย่างไรดี
bulletทำไมถึงปวดหัว
bulletสิทธิของผู้ป่วย
bulletท่าทางการทำงานเพื่อสุขภาพ
bulletของแถมจากคนอยากใหญ่
bulletไข่วันละฟองทานได้หรือไม่ ??
bullet20 คำถามที่ควรรู้ เกี่ยวกับการนอนของคุณ
bulletเรื่องน่ารู้ของผู้ชาย
bulletเนื้องอกกับมะเร็ง
bulletปัญหาของลูกผู้ชาย
bulletเซ็กส์ที่ปลอดภัย
bullet10 คำถามของลูกผู้ชาย
bulletดื่มนมอย่างไร ไม่ให้แน่นท้อง
bulletการทำหมันชาย
bullet8 ขั้น การเตรียมการเลิกบุหรี่
bulletการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
bulletกระเพาะอักเสบ
bulletมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยใกล้ตัวของคุณผู้ชาย
bullet10 วิธี ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
bulletเตือน! คนเอวเท่ากะละมังระวังเป็นโรคหัวใจ
bulletทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ???
bulletกรวยไตอักเสบ หนึ่งในโรคที่ต้องพึงระวัง
bulletนอนไม่หลับ โรคยอดฮิตของคุณหรือเปล่า
bulletท่านอนแบบไหน ถึงจะนอนหลับสบายถึงเช้า
bulletไม่เครียด-ออกกำลังกายพอเหมาะ ช่วยอสุจิให้แข็งแรง
bulletเบาหวานและการดูแลตัวเอง
bulletการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
bulletต่อมลูกหมากคืออะไร
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletอาหารต้องห้ามยามเป็นโรค
bulletสุขภาพคุณดีแค่ไหนและควรไปพบแพทย์เมื่อใด
bullet11 วิธีพิชิต "โรคภูมิแพ้"
dot
เวปไซต์สุขภาพอื่น ๆ
dot
bulletเพศศึกษา
bulletไทยคลีนิค
bulletสุขภาพ
dot
โทรทัศน์
dot
bulletช่อง 3
bulletช่อง5
bulletช่อง 7
bulletช่อง 9
bulletช่อง 11
dot
หนังสือพิมพ์
dot
bulletไทยรัฐ
bulletเดลินิวส์
bulletpost today


คลินิกหมอสุรเชษฐ


เบาหวานและการดูแลตัวเอง

  โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งในสภาวะปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้น อันสืบเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม การดำรงชีวิตประจำวัน ทางโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่นได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดตั้งศูนย์เบาหวานขึ้น เพื่อตอบสอนงความต้อการของผู้มาใช้บริการ ซึ่งประกอบด้วยคณะแพทย์ โภชนากรและทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำและทำการรักษาโรคทางเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            คุณหมอโรคเบาหวาน...แนะนำคนไข้              

                1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
                2. การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน
                3.
แนวทางการบริโภคอาหารที่ดีในผู้ป่วยเบาหวาน

               โรคเบาหวาน           

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ตามปกติ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 180 mg/dl ซึ่งเป็นจุดที่ไตสามารถควบคุมน้ำตาลไม่ให้ออกมาในปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ เบาหวาน”  ซึ่งแปลว่าปัสสาวะที่มีรสหวาน ปัจจุบันเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ใช้อาศัยน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังจากอดอาหารข้ามคืน มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 mg/dl  ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานอาจตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะก็ได้
                ในคนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ประมาณ 70-100 mg/dl หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 mg/dl

 

               ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร           

                ร่างกายคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต พลังงานเหล่านี้ได้มาจากอาหารต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไป อาหารประเภทแป้งจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดส่งผ่านไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ จำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนจากตับอ่อน คือ อินซูลิน ทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย

               เราอาจจะแยกเบาหวานได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุที่เกิด           

                1. เบาหวานชนิดชนิดที่ 1  มักพบในเด็ก หรือคนอายุน้อย ประเภทนี้ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน อาการแรกพบมักจะรุนแรง น้ำตาลในเลือดสูง ร่วมกับร่างกายมีภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตน
                2. เบาหวานชนิดที่ 2  เรามักจะพบประเภทนี้มากประมาณ 95-97 % ของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 40 ปี และมักจะอ้วน ร่วมกับมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตับอ่อนยังสร้างอินซูลินได้บ้าง และร่างกายมักจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษาในระยะแรกอาจเพียงควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล แต่เมื่อเป็นไปนานๆ ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
                3. เบาหวานชนิดอื่นๆ  ที่มีสาเหตุเฉพาะ เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคที่เกิดจากฮอร์โมนอื่นๆ ผิดปกติ การได้รับยาบางชนิด
 
               4. โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์  ประเภทนี้ผู้ป่วยจะไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ และตรวจพบเป็นเบาหวานเฉพาะขณะตั้งครรภ์ จากการที่ฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน เป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ถ้าบุคคลนั้นไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินให้เพียงพอจะทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งหลังคลอดมักจะพบว่าโรคเบาหวานหายไป แต่เมื่อติดตามต่อไป พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานได้มาก

               โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร           

                1. ประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลินลดลง ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
                2. การสร้างอินซูลินของตับอ่อนลดลง หรือไม่สร้างเลย

               รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน           

1. ตรวจพบได้ชัดเจน โดยการตรวจน้ำตาลในเลือดตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร 2 ครั้งขึ้นไป และทั้ง 2 ครั้งมีค่าเท่ากับ หรือมากกว่า 126 mg/dl
                2. เจาะเลือดหลังอาหาร น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl

               อาการของคนเป็นเบาหวาน           

                1. อาจจะไม่มีอาการอะไรเลย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก
                2. อาการที่พบบ่อยที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่

                                * ปัสสาวะบ่อยและมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน คนปกติมักจะไม่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางดึก หรืออย่างมากก็ปัสสาวะ 1 ครั้ง แต่ในคนที่เป็นเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินความสามารถของไตในการกั้นมิให้น้ำตาลออกมาในปัสสาวะ ซึ่งน้ำตาลที่ออกมาจะดึงน้ำออกมาด้วย ยิ่งน้ำตาลสูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งปัสสาวะมากและบ่อยมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลายครั้ง
                                * คอแห้ง กระหายน้ำมาก ดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการเสียน้ำทางปัสสาวะมาก หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงต้องสลายพลังงานจากกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายไปใช้แทน จึงทำให้น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และร่างกายขาดพลังงาน ทำให้หิวบ่อย
                                * ตาพร่ามัว
                                * ผิวหนังอักเสบ เป็นฝีบ่อย แผลหายช้า คันตามผิวหนัง จากผิวหนังแห้งหรืออักเสบ คันในช่องคลอดจากการติดเชื้อรา

               ผู้ใดมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน           

                1. ผู้ที่มีประวัติเป็นเบาหวานในครอบครัว เช่น พ่อแม่ พี่น้องสายตรง คนในครอบครัวมีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น
                2. ความอ้วน
                3. การไม่ได้ออกกำลังกาย
                4. ผู้สูงอายุ
                5. โรคตับอ่อนบางชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ
                6. การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ
                7. การตั้งครรภ์

               เมื่อเป็นเบาหวานแล้ว จะรักษาหายขาดได้หรือไม่           

                เบาหวานโดยทั่วไปไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเมื่อเป็นเบาหวานนานๆ เข้า ความรุนแรงของโรคมักจะมากขึ้นและต้องใช้ยามากขึ้น ฉะนั้นจึงต้องรักษาเบาหวานตั้งแต่เมื่อพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันเบต้าเซลล์ของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินมิให้เสื่อมเร็ว ซึ่งจะชะลอหรือยับยั้งไม่ให้เบาหวานเป็นรุนแรงได้นานๆ

               การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน                 

                 เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีความไม่สบายกายแต่อย่างใดเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัด หรือมาตรวจพบว่าเป็นเบาหวานได้รับยาไปครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปมักจะซื้อยากินเอง จึงมักพบว่าส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อมีความรุนแรงมากขึ้นจะเกิดความเจ็บป่วยทรมานอย่างถาวร

                 การดูแลสุขภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน                 

                1. ควบคุมเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ
                2. รับประทานยาสม่ำเสมอ
                3. อาจจะมีการติดตามตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง
                4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกรับประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายตนเอง
                5. พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การรับประทานอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน เพราะจะทำให้การคุมเบาหวานยากขึ้น
                6. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ หลังอาหารทุกมื้อควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อเอาเศษอาหารที่ติดค้างออกจนหมด ใช้แปรงสีฟันที่ขนไม่แข็งจนเกินไป
 
               7. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน รักษาความสะอาดบริเวณซอกอับ เช่น ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่าย เป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการอับชื้น
                8. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ทุกวัน ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
                9. สวมเสื้อผ้าแห้ง สะอาด ระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนทุกวัน
                10. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
                11. หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ ในภาวะเครียดร่างกายและฮอร์โมนต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
                12. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว
                13. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด แม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง พร้อมปรับแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดในโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ

                สุขภาพตา                  

                ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดคุมได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาได้ง่าย เช่น ต้อกระจก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเร็วก่อนวัย การเสื่อมของจอรับสายตา จึงควรที่จะ

                                                                                    1. พบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพตา จะตรวจโดยการขยายม่านตา แม้ว่าสายตายังมองเห็นชัดดี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (มักพบในเด็ก หรือคนอายุน้อย) ควรเริ่มได้รับการตรวจตาเมื่อเป็นเบาหวานมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 40 ปีและมักจะอ้วน ร่วมกับมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว) ควรได้รับการตรวจตาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
                2. การตรวจโดยการขยายม่านตา จะทำให้ผู้ได้รับการตรวจมีอาการตามัว 3-4 ชั่วโมงหลังการตรวจ จึงไม่ควรขับรถมาเองในวันที่ตรวจตา หรืออาจจะมีญาติมาด้วย เพื่อที่จะพากลับบ้านได้สะดวก
                3. ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทุก 3 เดือน

                การจะวัดสายตาประกอบแว่น ทั้งสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ควรจะทำเมื่อควบคุมเบาหวานได้ดีแล้ว ถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัวทันที มีอาการปวดตามาก เห็นภาพ หรือเส้นลอยในตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์

               สุขภาพช่องปากและฟัน               

                ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดเหงือกและฟันอักเสบมากกว่า และรุนแรงกว่าคนปกติ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่มีโรคเหงือกและฟันอักเสบก็จะทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้ยาก

                1. ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ฟันและ จากทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
                2. หมั่นรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
                3. เมื่อมีเลือดออกบริเวณเหงือกหลังจากรับประทานอาหารหรือแปรงฟัน อาจจะแสดงถึงเมื่อมีการอักเสบของเหงือก หรือเมื่อมีฝ้าขาวของเชื้อราในช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์

               สุขภาพเท้า              

                สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า คนไข้เบาหวานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้มากกว่าคนปกติจาก

                1. การที่เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จากน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นานๆ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบของมีคม หรือถูกกดรัดนานๆ หรือโดนความร้อน จึงทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
                2. เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อ เกิดการคันง่าย เมื่อเกาเกิดเป็นแผลแตกติดเชื้อ
                3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ไปเลี้ยงเท้าตีบตัน เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของเท้า เกิดเนื้อตายง่าย หรือเมื่อเกิดเป็นแผลหายยาก
                4. ติดเชื้อง่าย น้ำตาลในเลือดที่สูงๆ ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อลดลง เมื่อติดเชื้อโรคจะลุกลามเร็ว

 

               วิธีการดูแลเท้า              

                1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ไม่ใช้แปรงหรือ ขนแข็งๆ ขัดเท้า ไม่ควรแช่เท้าด้วยน้ำร้อน ถ้าจะทำก็อาจใช้น้ำอุ่นน้อยๆ และไม่แช่นานเกิน 5 นาทีไม่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบนขา หรือ เท้า
                2. ถ้าผิวแห้งคัน ทาครีมบางๆ โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าและรอบเล็บ ถ้าผิวหนังชื้นให้โรยด้วยแป้งฝุ่น
                3. สำรวจเท้าตนเองทุกวัน ว่ามีรอยแผล เม็ดพอง ผิวหนังสีคล้ำ โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า ซอกนิ้ว รอบเล็บ บริเวณที่ยากต่อการดู เช่น ส้นเท้า ฝ่าเท้าอาจใช้กระจกช่วย ถ้าไม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ควรให้ญาติช่วยดูให้ ถ้าพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
                4. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ควรสวมรองเท้าตลอดเวลา
                5. ควรสวมถุงเท้าทุกครั้งที่สวมรองเท้า ใช้ถุงเท้าฝ้ายเนื้อนุ่มไร้ตะเข็บ เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีและไม่เกิดการเสียดสี ถุงเท้าไม่รัดแน่นจนเกินไป
                6. ห้ามตัดตาปลา หนังหนาๆ หรือใช้น้ำยาแรงๆ จี้หูดด้วยตนเอง
                7. การตัดเล็บเท้า ให้ตัดเล็บตรงๆ เสมอปลายเท้า  อย่าตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ หรือตัดลึกมาก เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย
                8. ควรตัดเล็บหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บอ่อนตัดง่าย ถ้าตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
                9. ไม่ใช้วัตถุแข็งๆ แคะซอกเล็บ เพราะอาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
              10. ถ้ามีเล็บขบ หรือมีบาดแผล ควรปรึกษาแพทย์
              11. บริหารเท้าเป็นประจำทุกวัน จะช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเท้าได้ดีขึ้น
              12. ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดเส้นเลือดตีบตันทำให้การไหลเวียนเลือดลดลง

               การเลือกและการใช้รองเท้า              

                 1. เลือกรองเท้าที่ขนาดพอเหมาะ ไม่คับหรือหลวมเกินไป ขนาดรองเท้ายาวกว่านิ้วเท้า ที่ยามที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว ส้นไม่สูง รองเท้าที่มีแผ่นรองรับแรงกระแทกภายใน จะช่วยลดแรงกดในฝ่าเท้าได้ดี เช่น รองเท้ากีฬา
                 2. การซื้อรองเท้า  ควรเลือกซื้อช่วงบ่ายหรือเย็นเนื่องจากเท้าจะขยายตัวเต็มที่
                 3. ควรเลือกรองเท้าหนัง หรือรองเท้ากีฬา เพราะจะระบายอากาศได้ดีกว่ารองเท้าพลาสติก
                 4. เลือกรองเท้าที่มีเชือกผูก หรือสายรัด เพื่อลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าขณะสวม
                 5. ก่อนใส่รองเท้า ให้ตรวจในรองเท้าว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น กรวด ทราย ดิน ตะปู แมลง อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกกันการเกิดแผล
                 6. เมื่อใช้รองเท้าคู่ใหม่ ควรเริ่มสวมครั้งละประมาณ 20-30 นาที แล้วเปลี่ยนเป็นคู่เก่า และค่อยๆปรับเพิ่มเวลา ตามความเหมาะสม
                 7. คอยสังเกตุตุ่มพอง รอยแตกทุกครั้งหลังใส่รองเท้าใหม่
                 8. ควรมีรองเท้าใส่สลับกันหลายคู่

              แนวทางการบริโภคอาหารที่ดีในผู้ป่วยเบาหวาน           

               เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  เบาหวานเกิดจากความไม่สมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดกับจำนวนอินซูลินที่หลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนเมื่อร่างกายมีระดับอินซูลินที่ไม่เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในเลือด  มีน้อยไปหรือออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควรจึงเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั่วร่างกาย  เช่น  เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หลอดเลือดแดงตีบและตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น  
               การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนลงได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรที่จะศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ เกี่ยวกับวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของแต่ละบุคคล โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น
              ข้อสำคัญพึงตระหนักว่า  การคุมอาหารมิใช่การอดอาหาร แต่เป็นการปรับปริมาณและชนิดให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนอุปนิสัยการบริโภคซึ่งควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิให้เกิดความเครียด พึงคิดเสมอว่าอาหารที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นเบาหวาน ก็มิได้แตกต่างจากอาหารที่คนทั่วๆ ไปควรจะรับประทานแต่คนเรามักจะตามใจปาก มิได้คำนึงถึงคุณภาพของอาหารที่รับประทานเข้าไปว่าจะเป็นประโยชน์หรือให้โทษแก่ร่างกาย คิดถึงแต่ความอร่อย ฉะนั้นการปรับอุปนิสัยในการบริโภคเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้คนที่เป็นเบาหวานควบคุมโรคได้ดีขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

           เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ คนไข้เบาหวาน ควรจะเรียนรู้อาหารคาร์โบไฮเดรต 3 ประเภท           

          1) ประเภทต้องห้าม  ได้แก่

               - อาหารน้ำตาลและเบาหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สัขยา
               - ผลไม้กวนต่างๆ เช่น ทุเรียนกวน น้ำหวานต่างๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
               - นมข้นหวาน
               - ผลไม้เชื่อม ผลไม้กระป๋อง

         2) ประเภทรับประทานได้ในปริมาณพอเหมาะ

        - อาหารพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน
        - ผักประเภทหัว ที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาลมาก เช่น เผือก มัน มันฝรั่ง ฟักทอง แครอท
        - ผลไม้ต่างๆ

การเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตให้ได้คุณภาพ ควรคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ

        1. ปริมาณใยอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้น
        2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (Glycemic Index)

         ใยอาหาร  จะทำให้การดูดซึมอาหารช้าลง จึงควรจะได้รับใยอาหารวันละประมาณ 40 กรัม
 

 

        ไกลซีมิค อินเดกซ์  เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานถ้าไกลซีมิค อินเดกซ์ มีค่าเท่ากับ 100 แสดงว่าดูดซึมได้เร็วเท่าอาหารมาตรฐาน

        ถ้าค่าต่ำกว่า 100  แสดงว่า  อาหารนั้นดูดซึมช้า
        ถ้ามากกว่า 100  แสดงว่า  ดูดซึมมากกว่าอาหารมาตรฐาน

อาหารที่ควรรับประทานในคนเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิค อินเดกซ์ ต่ำ

 

 

* ข้อมูลจากหนังสือ การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน พิมพ์คัร้งที่ 3 โครงการตำราอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ *

         3) ประเภทรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่

        ผักใบเขียวทุกชนิด ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ต้นหอม บวบ ใบโหระพา ใบสะระแหน่ แตงกวา แตงล้าน สายบัว พริกหนุ่ม เป็นต้น

        ปริมาณพลังงาน และอาหารที่ควรได้รับในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

        เนื่องจากเกือบครึ่งของคนไข้ประเภทนี้ มักจะมีภาวะโภชนาการเกิน และกินอาหารโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดี ทำให้มีปัญหาในการรักษาน้ำหนักตัวระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด การลดพลังงานอาหารลงไปบ้าง โดยกำหนดให้ประมาณวันละ 20-25 แคลอรี่ ต่อ กิโลกรัมน้ำหนักตัวมาตรฐาน จะช่วยลดน้ำหนัก จะช่วยลดน้ำหนักตัวอย่างช้าๆ และคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
        ในคนมีน้ำหนักตัวปกติ ควรจะได้พลังงาน 25-30 แคลอรี่ / กิโลกรัม-น้ำหนักตัวมาตรฐาน

       สัดส่วนของพลังงานอาหารที่เหมาะสม  คือ

 

 

 

       * อาหารโปรตีน  ที่ควรจะได้รับควรเป็น  โปรตีนที่มีคุณภาพดี และมีไขมันต่ำ ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือหนัง ปลา เต้าหู้ ประมาณ 10-14 ช้นโต๊ะ/วัน
       
* อาหารไขมัน     ควรจะเป็นไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์น้อยที่สุด เพราะไขมันจากสัตว์จะเป็นตัวส่งเสริมให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
        ลดการใช้น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใช้น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหาร ควรประกอบอาหารด้วยวิธีต้ม ย่าง นึ่ง หลีกเลี่ยงของทอด ถ้าจะผัดควรใช้น้ำมันจำนวนน้อย

 

               ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (โภชบัญญัติ 9 ประการ)            
จะช่วยเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยมีหลักปฏิบัติ ต่อไปนี้

              1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินให้พอกับความต้องการของร่างกายและกินดี  คือ แต่ละหมู่ให้หลากหลายไม่ซ้ำซากและจำเจ
              2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเป็นข้าวที่มีใยอาหารด้วยจะดี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารข้าวอาจจะสลับกับอาหารแป้งเป็นบางมื้อได้ เช่น เป็นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมจีน
              3. กินพืชผักให้มาก กินผลไม้ประจำและพอเหมาะ
              4. กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำและพอเหมาะ
              5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
              6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
              7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
              8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
              9. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 




ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด